วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโรงพยาบาลยโสธร



การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโรงพยาบาลยโสธร

จากความโชคดีที่นับว่าเป็นโอกาสที่บุคลากรทีมสุขภาพ(จิต)จังหวัดยโสธร ได้รับจากกลุ่มงานวิจัย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

นำโดย อาจารย์นายแพทย์ ธรณินทร์ กองสุขหัวหน้างานพี่หน่อยคนสวย คุณพี่ จินตนา ลี้จงเพิ่มพูนและคณะ ให้เรามีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิดกับโรคซึมเศร้า ที่เริ่มต้นจาก การคัดกรองหากลุ่มเป้าหมาย โดย อสม. จนถึงนำพาผู้ป่วยเข้าสู่การเยี่ยวยาทางใจจากพยาบาลจิตเวช/บุคลากรสาธารณสุข บำบัดรักษาจากแพทย์ (หมอใหญ่ ) ในโรงพยาบาลจากรากหญ้าสู่รากแก้วก็ว่าได้ สิ่งที่ได้รับรู้ต่างๆ นำให้เรามีโอกาสเข้าถึงกลุ่มคนในยโสธรยิ่งขึ้น ประสบการณ์การเรียนที่เกิดขึ้น ในเรื่องราวมากมาย เหล่านี้ เช่น
- กลยุทธ์การพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาและลดภาระโรคซึมเศร้า
- ลดอัตราตาย

· พัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
- ลด อัตราการป่วยใหม่
· พัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การป้องกันการเกิดโรค
· สู่ การพัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การค้นหาและจัดการปัจจัยเสี่ยง
- ลดระยะเวลาการเจ็บป่วย
· พัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การรักษาและฟื้นฟูโรคซึมเศร้าเพื่อลดระยะเวลเจ็บป่วย


จากวันนั้นจนถึงวันนี้ การดำเนินงานสามารถนำไปสัมผัสบริบทของคนในชุมชนได้ ภายใต้ ข้อคำถาม

1) ในเดือนที่ผ่านมารวมมื่อนี่เจ้ามีอาการมูนี่บ่ : อุกอั่ง หงอย เซ็ง หนหวย บ่เป็นตาอยู่มีแต่อยากไฮ่
2) ในเดือนที่ผ่านมารวมมื่อนี่เจ้ามีอาการมูนี่บ่ : บ่สนใจหยัง บ่อยากเฮ็ดหยัง บ่ม่วนบ่ซืน
การกล่าว เล่าถามตามลักษณะท่าทางบุคลิกส่วนบุคคล ในข้อ2 คำถาม ด้วย ความตั้งใจในคำตอบที่อยากจะได้จากคนในชุมชน ( 18 ปี ขึ้นไป) ก่อเกิดบรรยากาศ ท่าทีเป็นมิตรบ่งบอกถึงความห่วงใยใส่ใจในตัวผู้ที่ต้องตอบคำถาม ด้วยภาษาคำพูดที่สั้นๆ เพียงบอกเรามาแค่ว่า ใช่ (แมน) หรือ ไม่ใช่ (บ่แมน) ก็ทำให้ นำมาซึ่ง โอกาศการรักษาโรคซึมเศร้าของ คนยโสธร

การคัดกรองที่ข้าสู่ระบบการรักษา ที่สามารถวัดด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ ดังนี้
คัดกรอง 282,320 คน ผล 2Q 17,190 คน ผล 9Q 2,506 คน จำนวน Dx 1,465 คน
โรงพยาบาลยโสธรเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการเชื่อมต่อระบบการพัฒนางานการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้มีโอกาสในการ ฟื้นฟูองค์ความรู้ และเทคนิค การใช้ข้อคำถาม ได้รับโอกาสจากทีมผู้จัดการอบรม ส่งบุคลากรชั้นแนวหน้าเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 20 คน ประกอบด้วยนางพยาบาลและบุรุษพยาบาลจากหอผู้ป่วยทุกหอในโรงพยาบาลยโสธรที่ถูกคัดเลือกด้วยตัวเลขลำดับแรกๆของบุคลากรในหน่วยงาน ด้วยเหตุผลที่ว่ามีความใส่ใจในงานวิชาชีพการบริการชั้นแนวหน้า เห็นการพยาบาลที่ต้องให้ความสำคัญทั้งกายและใจควบคู่เคียงข้างกันไป เห็นกับความเป็นมนุษย์ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลใจเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อ 20 พค. 2552 ณ. รร.เจพีฯ เมืองยโสธร จากการเล่าเรียน ผ่านขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพจาก รพ.ชุมชนในเขตจังหวัดยโสธร ทีมงานเข้มแข็งด้านความเชี่ยวชาญโรคซึมเศร้าโรงพยาบาลยโสธร ก็สามารถกลับมาดูแลผู้รับบริการในโรงพยาบาลด้วยหัวใจบริการที่เน้นความสำคัญที่เกิดจากการเฝ้าระวัง คัดกรองจนถึงการรักษาโรคซึมเศร้าของผู้รับบริการในโรงพยาบาลยโสธร
ในขณะนี้โรงพยาบาลเรามีผู้ป่วยที่เกิดจากการคัดกรองรักษาจากการพัฒนาระบบดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ด้วยค่าข้อมูลที่สามารถวัดเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพถึง
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า(Depressive Disorder) 147 ราย
ที่เกิดจากการ นำขบวนการพัฒนาระบบดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เข้ามาดำเนินการดูแลผู้รับบริการในโรงพยาบาลยโสธรอย่างแท้จริง

บทสรุปที่เกิดขึ้นในใจ บ่งบอกเรื่องราวของการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับช่วงเวลาที่ผ่านมา เพียงแต่มิได้ผ่านไปอย่างไร้ค่า ย้อนกลับ ไปช่วงเวลา3-4 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่มีนโยบายจากระดับผู้บริหาร ในการตอบรับกับโครงการวิจัยโรคซึมเศร้า หากทีมพระศรีฯมองข้ามที่จะหยิบยื่นโอกาสให้เราพัฒนาศักยภาพของตนในองค์ความรู้ สู่การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าอาจยังไม่สามารถเข้าถึงคนในยโสธรได้ถึงเพียงนี้ก็พอ
บทสรุปที่เกิดขึ้นในใจ บ่งบอกเรื่องราวของการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับช่วงเวลาที่ผ่านมา เพียงแต่มิได้ผ่านไปอย่างไร้ค่า ย้อนกลับ ไปช่วงเวลา3-4 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่มีนโยบายจากระดับผู้บริหาร ในการตอบรับกับโครงการวิจัยโรคซึมเศร้า หากทีมพระศรีฯมองข้ามที่จะหยิบยื่นโอกาสให้เราพัฒนาศักยภาพของ ตน ในองค์ความรู้ สู่การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าอาจยังไม่สามารถเข้าถึงคนในยโสธรได้ถึงเพียงนี้ก็พอจะเป็นได้







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น