วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโรงพยาบาลยโสธร



การพัฒนาระบบเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าโรงพยาบาลยโสธร

จากความโชคดีที่นับว่าเป็นโอกาสที่บุคลากรทีมสุขภาพ(จิต)จังหวัดยโสธร ได้รับจากกลุ่มงานวิจัย โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

นำโดย อาจารย์นายแพทย์ ธรณินทร์ กองสุขหัวหน้างานพี่หน่อยคนสวย คุณพี่ จินตนา ลี้จงเพิ่มพูนและคณะ ให้เรามีโอกาสได้สัมผัสใกล้ชิดกับโรคซึมเศร้า ที่เริ่มต้นจาก การคัดกรองหากลุ่มเป้าหมาย โดย อสม. จนถึงนำพาผู้ป่วยเข้าสู่การเยี่ยวยาทางใจจากพยาบาลจิตเวช/บุคลากรสาธารณสุข บำบัดรักษาจากแพทย์ (หมอใหญ่ ) ในโรงพยาบาลจากรากหญ้าสู่รากแก้วก็ว่าได้ สิ่งที่ได้รับรู้ต่างๆ นำให้เรามีโอกาสเข้าถึงกลุ่มคนในยโสธรยิ่งขึ้น ประสบการณ์การเรียนที่เกิดขึ้น ในเรื่องราวมากมาย เหล่านี้ เช่น
- กลยุทธ์การพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาและลดภาระโรคซึมเศร้า
- ลดอัตราตาย

· พัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า
- ลด อัตราการป่วยใหม่
· พัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การป้องกันการเกิดโรค
· สู่ การพัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การค้นหาและจัดการปัจจัยเสี่ยง
- ลดระยะเวลาการเจ็บป่วย
· พัฒนาระบบ/แนวทาง/เทคนิค/เทคโนฯ การรักษาและฟื้นฟูโรคซึมเศร้าเพื่อลดระยะเวลเจ็บป่วย


จากวันนั้นจนถึงวันนี้ การดำเนินงานสามารถนำไปสัมผัสบริบทของคนในชุมชนได้ ภายใต้ ข้อคำถาม

1) ในเดือนที่ผ่านมารวมมื่อนี่เจ้ามีอาการมูนี่บ่ : อุกอั่ง หงอย เซ็ง หนหวย บ่เป็นตาอยู่มีแต่อยากไฮ่
2) ในเดือนที่ผ่านมารวมมื่อนี่เจ้ามีอาการมูนี่บ่ : บ่สนใจหยัง บ่อยากเฮ็ดหยัง บ่ม่วนบ่ซืน
การกล่าว เล่าถามตามลักษณะท่าทางบุคลิกส่วนบุคคล ในข้อ2 คำถาม ด้วย ความตั้งใจในคำตอบที่อยากจะได้จากคนในชุมชน ( 18 ปี ขึ้นไป) ก่อเกิดบรรยากาศ ท่าทีเป็นมิตรบ่งบอกถึงความห่วงใยใส่ใจในตัวผู้ที่ต้องตอบคำถาม ด้วยภาษาคำพูดที่สั้นๆ เพียงบอกเรามาแค่ว่า ใช่ (แมน) หรือ ไม่ใช่ (บ่แมน) ก็ทำให้ นำมาซึ่ง โอกาศการรักษาโรคซึมเศร้าของ คนยโสธร

การคัดกรองที่ข้าสู่ระบบการรักษา ที่สามารถวัดด้วยข้อมูลเชิงปริมาณ ดังนี้
คัดกรอง 282,320 คน ผล 2Q 17,190 คน ผล 9Q 2,506 คน จำนวน Dx 1,465 คน
โรงพยาบาลยโสธรเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการเชื่อมต่อระบบการพัฒนางานการเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้มีโอกาสในการ ฟื้นฟูองค์ความรู้ และเทคนิค การใช้ข้อคำถาม ได้รับโอกาสจากทีมผู้จัดการอบรม ส่งบุคลากรชั้นแนวหน้าเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 20 คน ประกอบด้วยนางพยาบาลและบุรุษพยาบาลจากหอผู้ป่วยทุกหอในโรงพยาบาลยโสธรที่ถูกคัดเลือกด้วยตัวเลขลำดับแรกๆของบุคลากรในหน่วยงาน ด้วยเหตุผลที่ว่ามีความใส่ใจในงานวิชาชีพการบริการชั้นแนวหน้า เห็นการพยาบาลที่ต้องให้ความสำคัญทั้งกายและใจควบคู่เคียงข้างกันไป เห็นกับความเป็นมนุษย์ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลใจเป็นสิ่งสำคัญ
เมื่อ 20 พค. 2552 ณ. รร.เจพีฯ เมืองยโสธร จากการเล่าเรียน ผ่านขบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมวิชาชีพจาก รพ.ชุมชนในเขตจังหวัดยโสธร ทีมงานเข้มแข็งด้านความเชี่ยวชาญโรคซึมเศร้าโรงพยาบาลยโสธร ก็สามารถกลับมาดูแลผู้รับบริการในโรงพยาบาลด้วยหัวใจบริการที่เน้นความสำคัญที่เกิดจากการเฝ้าระวัง คัดกรองจนถึงการรักษาโรคซึมเศร้าของผู้รับบริการในโรงพยาบาลยโสธร
ในขณะนี้โรงพยาบาลเรามีผู้ป่วยที่เกิดจากการคัดกรองรักษาจากการพัฒนาระบบดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ด้วยค่าข้อมูลที่สามารถวัดเป็นข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพถึง
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า(Depressive Disorder) 147 ราย
ที่เกิดจากการ นำขบวนการพัฒนาระบบดูแลเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เข้ามาดำเนินการดูแลผู้รับบริการในโรงพยาบาลยโสธรอย่างแท้จริง

บทสรุปที่เกิดขึ้นในใจ บ่งบอกเรื่องราวของการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับช่วงเวลาที่ผ่านมา เพียงแต่มิได้ผ่านไปอย่างไร้ค่า ย้อนกลับ ไปช่วงเวลา3-4 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่มีนโยบายจากระดับผู้บริหาร ในการตอบรับกับโครงการวิจัยโรคซึมเศร้า หากทีมพระศรีฯมองข้ามที่จะหยิบยื่นโอกาสให้เราพัฒนาศักยภาพของตนในองค์ความรู้ สู่การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าอาจยังไม่สามารถเข้าถึงคนในยโสธรได้ถึงเพียงนี้ก็พอ
บทสรุปที่เกิดขึ้นในใจ บ่งบอกเรื่องราวของการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนกับช่วงเวลาที่ผ่านมา เพียงแต่มิได้ผ่านไปอย่างไร้ค่า ย้อนกลับ ไปช่วงเวลา3-4 ปีที่ผ่านมา ถ้าไม่มีนโยบายจากระดับผู้บริหาร ในการตอบรับกับโครงการวิจัยโรคซึมเศร้า หากทีมพระศรีฯมองข้ามที่จะหยิบยื่นโอกาสให้เราพัฒนาศักยภาพของ ตน ในองค์ความรู้ สู่การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าอาจยังไม่สามารถเข้าถึงคนในยโสธรได้ถึงเพียงนี้ก็พอจะเป็นได้







วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ขับเคลื่อนเครือข่าย Suicide



จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ... ณ การเสวนา"suicide ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคม" เมื่อต้นเดือนก่อนนำมาสู่การจัดการความรู้ในหมู่คนหน้างาน...ที่ทำงานทางด้าน suicide
วันนี้ทางเครือข่ายทำงานอำเภอเมือง ได้เลือกนำแนวทางการสุนทรียสนทนา...มาใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอด เพื่อนำไปสู่
"การพัฒนาขับเคลื่อนการทำงานด้านนี้ให้ดีขึ้น"
เป็นการเรียนรู้ผ่านปัญหาและประสบการณ์การแก้ปัญหา...
เราเริ่มต้นด้วยการ...ตามดูและตื่นรู้ลมหายใจ
การเตรียมความพร้อมแห่งกายใจ เพื่อนำไปสู่การใช้ศักยภาพที่มีอยู่ภายใต้ความเป็นมนุษย์...มาสู่บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

จากประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายการทำงานในวันนี้
นำไปสู่การขับเคลื่อนและต่อยอด...การทำ R2R...ต่อไป


----------

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ; http://gotoknow.org/blog/kapoomr2r/282645

สู่ชีวิตอันอุดม...การสร้างคุณค่าในตนเอง คือ ศิลปะแห่งการเยียวยา



เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมานั้น ข้าพเจ้าได้ร่วมในการทำค่ายสำหรับผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า และเคยอยู่สภาวะความคุกคามที่ไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ และพยายามฆ่าตัวตาย...การทำงานครั้งนี้เป็นการทำงานที่เชื่อมโยงและเนียนเข้าไปสู่วิถีแห่งพุทธะ ... ที่นำไปสู่การเยียวยาที่ลงรากไปถึง "จิตวิญญาณ" การให้ผู้คนได้ลิ้มรสและซึมซับแห่งพระธรรมนั้น เป็นความดีงามที่น้อมนำผู้คนไปสู่ความอิ่มของจิตใจ ทำให้สภาวะแห่งหลุมดำตื้นขึ้น...
ในการเข้าค่ายครั้งนี้...
มีทั้งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า และผู้ที่อยู่ในช่วงระหว่างกำลังบำบัดยาเสพติด
กลุ่มหนึ่งรู้สึกว่าถึงว่าตนเองมีโอกาสแห่งการได้มีชีวิตแต่พยายามตัดโอกาสนั้นของตนเอง ด้วยการคิดว่าการฆ่าตัวตายคือ ทางออก...
อีกกลุ่มหนึ่งนั้น เป็นความพยายามที่จะขอโอกาสแห่งการได้ดำรงอยู่ จากความผิดพลาดที่เคยทำ แต่การที่ไม่ด้รับโอกาสอาจน้อมนำไปสู่การตัดสินใจทำร้ายตนเองได้อีกครั้ง
แม้ทั้งสองกลุ่มจะแตกต่างกันของเหตุที่มา แต่ทั้งสองกลุ่มก็มีลักษณะร่วมคือ การไร้ซึ่งความรู้สึกของการดำรงอยู่และความมีคุณค่าในตนเอง
ดังนั้นเป้าหมายในการทำงานครั้งนี้ สำหรับข้าพเจ้าเองมองว่า คืนการฟื้นฟูความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองสำหรับคนทั้งสองกลุ่ม...
เราเริ่มกิจกรรมครั้งแรก...
ด้วยให้ทุกคนได้วาดภาพสะท้อนความดีของตนเอง โดยให้จับคู่กันและบอกเล่าความดีให้กันฟัง แรกๆบรรยากาศเป็นเขิลๆ เพราะรู้สึกว่าแต่ละคนต่างไม่คุ้นชินกับการได้มองหรือค้นหาความดี ของตนเอง...แต่ถึงแม้จะไม่คุ้น แต่นั่นก็ทำให้พวกเขาเหล่านี้ได้เริ่มซึมซับแห่งความดีความงามทางจิตใจเข้าไปแล้ว
จากนั้นก็สานต่อ...นำไปสู่การมองหาเป้าหมายของชีวิต
เป็นการที่ชวนให้ทุกคนได้มองว่า ชีวิตที่ดำรงอยู่นี้น่าจะมีเป้าหมายอย่างไรบ้าง
กิจกรรมนี้เราได้ทั้งการฝึกให้คิดอย่างใคร่ครวญ และมีหลักยึดแห่งเป้าหมายของวิถีชีวิตที่พึงดำรง การมีเป้าหมายในชีวิตคือ การทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตเราในแต่ละวันนั้นเราทำอะไรบ้าง และสิ่งไหนที่เราต้องทำ ทำไปเพื่ออะไร ... ทำให้การมีชีวิตอนู่นั้น มีความหมายมากขึ้น...
จากนั้น...เมื่อเสร็จกิจกรรมกลุ่มกันแล้ว...
เราต่างแบ่งกันทำงาน โดยล้างห้องน้ำบ้าง ทำความสะอาดลานวัดบ้าง และเตรียมงานสำหรับกิจกรรมที่จะมีขึ้นของวัดในวันที่ 8 สิงหาคม เป็นการทำงานที่เราเน้นในเรื่อง "จิตอาสา" อันเป็นการบ่มเพาะคุณลักษณะของเมล็ดพันธุ์ของความเป็นผู้มีจิตสาธารณะ...
เมื่อแล้วเสร็จ...ประมาณหนึ่งทุ่ม ทุกคนเตรียมทำวัตรเย็นร่วมกัน
การนำในการทำวัตรเย็นนั้น นำโดยเยาวชนที่ถูกตีตราว่าตนคือ ผู้มีความผิดพลาดในชีวิต คือผู้ใช้สารเสพติด...คือ...อะไรก็แล้วแต่ที่สื่อไปในแนวทางว่า เป็นคนไม่ดีในสายตาของสังคม
แต่สำหรับภาพวันนี้ เขาคือ เด็กหนุ่มเยาวชนที่สวมชุดสีขาว และนำพาการสวดมนต์ทำวัตรเย็น เสียงประสานแห่งการสวนมนต์นิ่งเย็นชุ่มชื่นซึมซับเข้าไปในหัวใจ เป็นพลังแห่งความดีงามยังคงมีอยู่ในทุกคน ต่างเป็นพลังที่สะท้อนออกมาว่า "พวกเรายังเป็นคนดีและมีคุณค่านะ"...
เมื่อแล้วเสร็จกิจกรรมการทำวัตรเย็นแล้ว...
พระอาจารย์พิทยา ได้นำในการฝึกนั่งสมาธิ...ในโบสถ์ ผู้ป่วยที่เคยผ่านทั้งความคิดฆ่าตัวตาย และเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายมานั้น ต่างได้เคลื่อนเข้าไปสู่สภาวะแห่งความร่มเย็น เป็นการเติมเต็มและรดน้ำแก่เมล็ดพันธุ์แห่งความชุ่มชื่นใจ เพื่อให้ใจนี้ได้มีพลังให้เขารู้สึกว่าเขาอยากมีชีวิตอยู่...และดำเนินชีวิตต่อไปตามกาลเวลาที่มีและเหลืออยู่
เช้าวันที่สอง
ตั้งแต่เช้ามืดทุกคนตื่น...ด้วยความสดใส สำหรับผู้หญิงก็เข้าครัวช่วยแม่ครัวเตรียมอาหาร ผู้ชายก็ทำภารกิจร่วมกับทางวัด ทำความสะอาดลานวัด ตามพระภิกษุออกบิณฑบาตร
จากนั้นก็มาร่วมกันทำวัตรเช้า...
และฟังเทศน์จากหลวงปู่ประสาน สุมโน หรือพระครูสุมนสารคุณ
"การตั้งมั่นในศีล และการดำรงอยู่เพื่อมีชีวิต และสร้างคุณค่าในตนเองผ่านการทำงาน" เป็นเป้าหมายของการมีชีวิต
สองวันของการเริ่มเปิดประตูไปสู่คุณค่าและโอกาส...ของการชีวิต
สำหรับข้าพเจ้ามองว่า...เป็นความงดงามและช่องทางที่นำพาผู้คนเคลื่อนไปสู่สภาวะแห่งการได้เยียวยาตนเองต่อความหมายของคำว่า ได้เกิดมาเป็น "มนุษย์"



เชื่อมต่อ R2R สู่ อสม. "ชมรมเพื่อนรักเพื่อน"ในการทำงานเพื่อผู้พิการทางจิต





สืบเนื่องจากความเดิม
เติมเต็มจิตใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางจิต ;ประธานชุมชนผู้แข็งนอกแต่เข้าใจภายใน
เติมเต็มจิตใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางจิต ; เรื่องเล่ากำนันผู้ยิ่งใหญ่ทางจิตวิญญาณ
จากการที่ได้มีการทำ KM ในการกลุ่ม อสม. และเครือข่ายคณะกรรมการในชุมชน ... จนสามารถจัดตั้งเป็นชมรม "เพื่อนรักเพื่อน" ในการทำงานเพื่อผู้พิการทางจิต สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นคือ ความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการทำงาน
ที่มาของแนวคิดนี้มาจากที่น้องหนุ่ย - สุภาพร จันทร์สาม มีความตั้งใจที่อยากจะพัฒนาเครือข่ายจิตเวชชุมชน และสร้างงานให้เกิดขึ้นจากคนหน้างานเอง ร่วมกับคนในพื้นที่ เพราะเมื่อเรานำการทำงานที่ผ่านมาในอดีตมาทบทวนเราพบว่าเป็นเพียงการทำงานในระบบ ที่ปราศจาก outcome ที่เห็นผลชัดเจนว่านั่นน่ะคือ การทำงานได้ผล การเข้าถึงพื้นที่ก็เป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น เพราะเรามีเพียงแต่จำนวนตัวเลข...เท่านั้น



ปีหลังๆ มานี่จึงปรับรูปแบบการทำงานใหม่ นำแนวคิดการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานแทนการทำงานไปตามระบบและการสั่งการ สนับสนุนให้คนหน้างานอย่าง อสม. และประชาชนในพื้นที่มามีส่วนร่วมและตระหนักต่อสภาวะสุขภาพในชุมชนของตนเองด้วยตนเองมากขึ้น
หลายครั้งต่อหลายครั้งที่เราทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนมาถึงต้นปลายปีที่แล้วและต่อเนื่องมาต้นปีนี้ที่เราสามารถจัดตั้ง "ชมรมเพื่อนรักเพื่อน"ในการทำงานเพื่อผู้พิการทางจิตได้สำเร็จ ที่เรียกว่าสำเร็จเพราะเป็นการจัดตั้งโดย อสม. เอง... และ run กระบวนการภายในชมรมด้วยตัวคณะกรรมการในชมรมเอง เปลี่ยนรูปแบบจากที่มาจากการสั่งการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เปลี่ยนมาให้ชมรมคิดเอง ทำเอง ดำเนินการเองทุกอย่าง พี่เลี้ยง - อันหมายถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขนี้มีหน้าที่เพียงแค่สนับสนุนและเอื้ออำนายให้เกิดการทำงานต่อเนื่องและลื่นไหลไปได้มากที่สุด
เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านนั้น...ทางชมรมได้มีการพบปะกันอีกครั้ง
ซึ่งชมรมนี้จะมีการประชุมกันทุกเดือน...ข้าพเจ้าได้มองเห็นความก้าวหน้าและความเข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รู้สึกเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าชื่นชม
จากกระบวนการที่ต่อยอด...
คือ การนำแนวคิดการพัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัย (Routine to Research ; R2R) มาใช้ในการสนับสนุนการทำงานของ อสม. กลุ่มนี้ เพราะจากการที่ทำงานผ่านมาพบว่า หลายอย่างที่ อสม. ทำนั้นสามารถนำไปสู่การพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยได้ ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบจากการบอกและสั่ง มาเป็นให้ อสม. สร้างสรรค์การทำงานผ่านการ R2R น่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้ อสม. กลุ่มนี้มีพลังและเห็นคุณค่าจากการทำงานยิ่งขึ้น...
จากเวทีแลกเปลี่ยนครั้งล่าสุด...
อสม. ที่เป็นคณะกรรมการในชมรมจะลงพื้นที่ใน phrase แรก คือ การศึกษาบริบทพื้นที่เพื่อค้นหาผู้พิการทางจิตและไปเรียนรู้ว่าหนทางที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูและพัฒนาทางจิตนั้นน่าจะทำอย่างไร และช่วยเหลือได้อย่างไร จึงจะสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
ข้าพเจ้าได้มีโอกาสร่วมอยู่ในเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ด้วย รู้สึกทึ่งเป็นอย่างยิ่ง ต่อการช่วยกันคิดว่าจะก้าวเดินไปบนเส้นทางการทำงานอย่างไร กลุ่ม อสม. กลุ่มนี้ช่วยกันคิดได้อย่างที่ดูเหมือนว่าเคยเป็นนักเรียนที่ผ่านการเรียนวิจัยมาแล้ว ... แต่จริงๆ แล้วเมื่อมองดูมีแต่ชาวบ้านแทบทั้งนั้น
ดังนั้นข้าพเจ้ามองว่า...การทำ R2R ในกลุ่ม อสม. นี้น่าจะเป็นปรากฏการณ์ใหม่
ของการพัฒนางานประจำที่ไม่หมายเพียงผูกขาดไว้ที่บุคลากรทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น...
หากแต่...สามารถส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการทำได้ในทุกๆ คนที่มีงานประจำได้นำแนวคิด R2R ไปใช้...
ความดีนี้ต้องยกให้กับ อสม. ที่ร่วมกันขับเคลื่อนและ คุณอำนวย - R2R อย่างน้องหนุ่ย...ที่ทำงานด้านนี้มาแบบกัดไม่ปล่อยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ...
ประธานชมรม...นำหารือถึงความก้าวหน้าของชมรม



วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การเสวนา suicide ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่งหากแต่คือเรื่องของเราทุกคน (๑)




วันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะทำงานขับเคลื่อนเรื่องซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย มิติพัฒนาการทำงานโดยนำแนวทางรูปแบบการจัดการความรู้เข้ามาต่อยอดและขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนางานให้สู่ความเข้มแข็งของเครือข่ายและเกิดพลังในการทำงาน
เวทีเสวนา... "suicide ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่เป็นเรื่องของคนทุกคนในสังคม"


ผู้เข้าร่วมเสวนา ที่เชิญมานั้น
พระพิทยา ทินนาโถ จากวัดป่าหนองไคร้
นพ.สุรพร ลอยหา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยโสธร
นพ.อดิเกียรติ เอี่ยมวรนิรันดร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยโสธร
นพ.เจษฎา เถาวห์หอม จิตแพทย์โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
นางประชุมสุข โครตพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารเหตุการณ์ภาวะวิกฤติ
พ.ต.อ.ไพรัช ชาญศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารเหตุการณ์ภาวะวิกฤติ
ดำเนินรายการโดย Dr.Ka-Poom (นิภาพร ลครวงศ์)



ผู้เข้าร่วมฟังการเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วยคณะกรรมการทำงานในเครือข่ายการทำงานด้านการป้องกันภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และผู้ที่สนใจจำนวน 60 คน
เป้าหมายของการจัดเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อนำองค์ความรู้ แนวความคิด และมุมมองที่ได้จากผู้เข้าร่วมเสวนาที่มีต่อเรื่องการฆ่าตัวตาย เพื่อนำไปสู่ประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยของคณะทำงาน

รูปแบบการเสวนานี้นำไปสู่การสกัดความรู้ที่เป็น tacit knowledge ของผู้เข้าร่วมเสวนา
พระอาจารย์ต้อ หรือพระพิทยา ได้พูดถึงเรื่องความตาย ในมิติทางพุทธศาสนา ท่านบอกว่า "ในจำนวนสรรพสัตว์ต่างๆ ที่เกิดมามีมนุษย์นี่แหละที่ฆ่าตัวตาย ส่วนสัตว์ประเภทอื่นนั้นไม่เคยได้ยินว่ามีการฆ่าตัวตาย" ความหมายของการตาย คือ การละทิ้งซึ่งขันธ์ห้า อันประกอบด้วยรูปและนาม ที่ประกอบด้วยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ การตายเพียงแค่การดับขันธ์นี้เท่านั้น ส่วนความหมายของการตายทางพุทธศาสนา คือ การตายจากกิเลสทั้งสิ้นทั้งปวง

ท่านนายแพทย์ สสจ.นพ.สุรพล ลอยหา ได้พูดถึงทัศนะของการทำงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช ว่าเวลาที่พูดถึงจิตเวชนั้นมักจะให้รู้สึกเครียด จิตเวชน่าจะเปลี่ยนชื่อเช่น แผนกใจสบาย แล้วท่านพูดถึงตั้งแต่ย้ายมาที่จังหวัดยโสธรเมื่อสามปีก่อน แล้วท่านก็ประกาศนโยบายในเรื่องห้ามตาย หรือห้ามไม่มีการฆ่าตัวตายเกิดขึ้น ท่านได้ใช้ในเรื่องฐานข้อมูล และความเข้มแข็งของเครือข่ายมาเป็นฐานในการทำงาน ทำให้ทราบว่าจำนวนคนในชุมชนที่ฆ่าตัวตายนั้นมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นสะท้อนให้เห็นว่าคนในชุมชนมีปัญหาความทุกข์ทางด้านจิตใจจำนวนมาก

คำถามที่ปรากฏขึ้นในความคิดของท่าน "ทำไมที่นี่ถึงมีการฆ่าตัวตายเยอะ"
จากนั้นท่านก็ให้นโยบายการทำงานแก่คนทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านบอกว่าคนทำงานนั้นมีทฤษฎีเยอะแต่ขาดการเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติ และการทำงานด้านนี้ผู้ใหญ่ต้องพูดบ่อยๆ และสนับสนุนให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง
-------
หากต้องการแผ่น DVD งานเสวนา ติอต่อได้ที่ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลยโสธร

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สกัดและขุดความรู้ "


ณ โรงพยาบาลยโสธร
หลังจากเกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากคนทำงาน
นำเข้าไปสู่วิถีแห่งการสกัดความรู้จากคนหน้างาน

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

เรื่องเล่าเร้าพลังจริงๆ จากคนต้นแบบทั้งห้าท่าน

เราได้เรียนรู้อะไรจากคนต้นแบบที่กรุณาถอดบทเรียนอันทรงคุณค่านี้... เป็นคำถามที่เราร่วมกันถอดบทเรียนในตอนท้าย
จากเวที ลปรร. ที่ทางกลุ่มงานจิตเวชร่วมกับเวชกรรมสังคม นำบทเรียนรู้ที่ได้เรียนรู้เพื่อนำไปสู่การออกแบบการขับเคลื่อนเรื่องสุราในเขตอำเภอเมืองยโสธร
พี่บุญเติมคนต้นแบบแห่งชีวิตที่แทนสัญลักษณ์ Family Man
คุณเอกสิทธิ์ เน้นจากบทเรียนที่ตนเองได้เรียนรู้ "ชีวิตต้องมีเป้าหมาย"
พี่มนตรี "น้อมนำพุทธธรรมนำวิถีชีวิต" + ความรักความเข้าใจของครอบครัว
คุณอุไร ชีวิตนี้แลกได้เพื่อให้สามีเลิกสุรา
กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากเรื่องเล่าเร้าพลังจากคนต้นแบบที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการเลิกสุรา มาได้ไม่ต่ำกว่าสิบปี เป็นความมีคุณค่าที่แต่ละท่านนั้นผ่านชีวิตมาอันโชกโชนต่อการสู่กับตนเอง และก้าวเข้าสู่วิถีใหม่แห่งชีวิต