วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เชื่อมต่อ R2R สู่ อสม. "ชมรมเพื่อนรักเพื่อน"ในการทำงานเพื่อผู้พิการทางจิต





สืบเนื่องจากความเดิม
เติมเต็มจิตใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางจิต ;ประธานชุมชนผู้แข็งนอกแต่เข้าใจภายใน
เติมเต็มจิตใจพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้พิการทางจิต ; เรื่องเล่ากำนันผู้ยิ่งใหญ่ทางจิตวิญญาณ
จากการที่ได้มีการทำ KM ในการกลุ่ม อสม. และเครือข่ายคณะกรรมการในชุมชน ... จนสามารถจัดตั้งเป็นชมรม "เพื่อนรักเพื่อน" ในการทำงานเพื่อผู้พิการทางจิต สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นคือ ความเข้มแข็งและความต่อเนื่องในการทำงาน
ที่มาของแนวคิดนี้มาจากที่น้องหนุ่ย - สุภาพร จันทร์สาม มีความตั้งใจที่อยากจะพัฒนาเครือข่ายจิตเวชชุมชน และสร้างงานให้เกิดขึ้นจากคนหน้างานเอง ร่วมกับคนในพื้นที่ เพราะเมื่อเรานำการทำงานที่ผ่านมาในอดีตมาทบทวนเราพบว่าเป็นเพียงการทำงานในระบบ ที่ปราศจาก outcome ที่เห็นผลชัดเจนว่านั่นน่ะคือ การทำงานได้ผล การเข้าถึงพื้นที่ก็เป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น เพราะเรามีเพียงแต่จำนวนตัวเลข...เท่านั้น



ปีหลังๆ มานี่จึงปรับรูปแบบการทำงานใหม่ นำแนวคิดการจัดการความรู้มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนงานแทนการทำงานไปตามระบบและการสั่งการ สนับสนุนให้คนหน้างานอย่าง อสม. และประชาชนในพื้นที่มามีส่วนร่วมและตระหนักต่อสภาวะสุขภาพในชุมชนของตนเองด้วยตนเองมากขึ้น
หลายครั้งต่อหลายครั้งที่เราทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จนมาถึงต้นปลายปีที่แล้วและต่อเนื่องมาต้นปีนี้ที่เราสามารถจัดตั้ง "ชมรมเพื่อนรักเพื่อน"ในการทำงานเพื่อผู้พิการทางจิตได้สำเร็จ ที่เรียกว่าสำเร็จเพราะเป็นการจัดตั้งโดย อสม. เอง... และ run กระบวนการภายในชมรมด้วยตัวคณะกรรมการในชมรมเอง เปลี่ยนรูปแบบจากที่มาจากการสั่งการของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เปลี่ยนมาให้ชมรมคิดเอง ทำเอง ดำเนินการเองทุกอย่าง พี่เลี้ยง - อันหมายถึงบุคลากรด้านสาธารณสุขนี้มีหน้าที่เพียงแค่สนับสนุนและเอื้ออำนายให้เกิดการทำงานต่อเนื่องและลื่นไหลไปได้มากที่สุด
เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านนั้น...ทางชมรมได้มีการพบปะกันอีกครั้ง
ซึ่งชมรมนี้จะมีการประชุมกันทุกเดือน...ข้าพเจ้าได้มองเห็นความก้าวหน้าและความเข้มแข็งเป็นหนึ่งเดียวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รู้สึกเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าชื่นชม
จากกระบวนการที่ต่อยอด...
คือ การนำแนวคิดการพัฒนางานประจำด้วยการทำวิจัย (Routine to Research ; R2R) มาใช้ในการสนับสนุนการทำงานของ อสม. กลุ่มนี้ เพราะจากการที่ทำงานผ่านมาพบว่า หลายอย่างที่ อสม. ทำนั้นสามารถนำไปสู่การพัฒนาเป็นโจทย์วิจัยได้ ดังนั้น การเปลี่ยนรูปแบบจากการบอกและสั่ง มาเป็นให้ อสม. สร้างสรรค์การทำงานผ่านการ R2R น่าจะเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้ อสม. กลุ่มนี้มีพลังและเห็นคุณค่าจากการทำงานยิ่งขึ้น...
จากเวทีแลกเปลี่ยนครั้งล่าสุด...
อสม. ที่เป็นคณะกรรมการในชมรมจะลงพื้นที่ใน phrase แรก คือ การศึกษาบริบทพื้นที่เพื่อค้นหาผู้พิการทางจิตและไปเรียนรู้ว่าหนทางที่จะนำไปสู่การฟื้นฟูและพัฒนาทางจิตนั้นน่าจะทำอย่างไร และช่วยเหลือได้อย่างไร จึงจะสอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยในพื้นที่ได้อย่างแท้จริง
ข้าพเจ้าได้มีโอกาสร่วมอยู่ในเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ด้วย รู้สึกทึ่งเป็นอย่างยิ่ง ต่อการช่วยกันคิดว่าจะก้าวเดินไปบนเส้นทางการทำงานอย่างไร กลุ่ม อสม. กลุ่มนี้ช่วยกันคิดได้อย่างที่ดูเหมือนว่าเคยเป็นนักเรียนที่ผ่านการเรียนวิจัยมาแล้ว ... แต่จริงๆ แล้วเมื่อมองดูมีแต่ชาวบ้านแทบทั้งนั้น
ดังนั้นข้าพเจ้ามองว่า...การทำ R2R ในกลุ่ม อสม. นี้น่าจะเป็นปรากฏการณ์ใหม่
ของการพัฒนางานประจำที่ไม่หมายเพียงผูกขาดไว้ที่บุคลากรทางด้านสาธารณสุขเท่านั้น...
หากแต่...สามารถส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการทำได้ในทุกๆ คนที่มีงานประจำได้นำแนวคิด R2R ไปใช้...
ความดีนี้ต้องยกให้กับ อสม. ที่ร่วมกันขับเคลื่อนและ คุณอำนวย - R2R อย่างน้องหนุ่ย...ที่ทำงานด้านนี้มาแบบกัดไม่ปล่อยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ...
ประธานชมรม...นำหารือถึงความก้าวหน้าของชมรม



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น